Main


เป้าหมายของความเข้าใจ (Understanding Goal): 
            มีความรู้ความเข้าใจต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อผลิตและคุณภาพของข้าว รวมทั้งสามารถออกแบบการปลูกข้าว มีทักษะในการทำงานและแก้ไขปัญหา นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้






คำถามหลัก (Big Questions) : 1) เราจะปลูกข้าว 2 เมล็ด ให้ได้ผลผลิตข้าว1500 เมล็ด?

                                                2) เราจะปลูกข้าว 1 เมล็ด โดยใช้น้ำ 8 ลิตร?

ภูมิหลังของปัญหา : 
             
ข้าว เป็นธัญญาหารหลักของชาวโลก จัดเป็นพืชสายพันธุ์เดียวกับหญ้า มีความหลากหลายทางชีวภาพ  ข้าวมีความผูกพันกับชีวิตคนไทยมา การปลูกข้าวก่อให้เกิดขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามคู่กับชาติไทย สืบสานต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอาชีพชาวนาถือได้ว่าชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ สามารถใช้ทักษะและประสบการณ์ที่สร้างมีอยู่ต่อสู้กับความยากลำบากนานัปการ เพื่อให้ได้มาซึ่งอาหารเพื่อเลี้ยงคนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ปัจจุบันได้มีการวิจัยและพัฒนาสายพันธ์ข้าวให้หลากหลายขึ้น เพื่อที่จะสามารถปลูกได้ทุกภูมิประเทศ และทุกสภาพภูมิอากาศ ในสภาวะที่โลกได้เปลี่ยนไป อันเนื่องมาจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การเผาตอฟาง ใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลงทำให้ดินเสื่อมสภาพ ตัดไม้ทำลายป่าทำให้เกิดสภาวะฝนแล้ง ไม่ตกต้องตามดูกาล ฯลฯ ผลผลิตที่ได้จึงน้อยลง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้การปลูกข้าว ที่มีความปลอดภัยและหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี อีกทั้งให้ได้ผลผลิตจากการปลูกข้าวมากที่สุด 


Timeline 



ตารางความสัมพันธ์ Core Subject
หน่วย : “ปลูกข้าว 2 เมล็ดให้ได้ 1500 เมล็ด”
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1/2559

สุขภาพ
เศรษฐศาสตร์และการประกอบการ
สิ่งแวดล้อม
หน้าที่พลเมือง
-  ข้าวปลอดภัย
-  ความต้องสารอาหารในข้าวแต่ละชนิดที่เป็นข้อมูลในการรับประทานได้อย่างเหมาะสมกับเพศ วัย และสุขภาพ
-  การออกกำลังกายเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการมีสุขภาพที่ดี
-  สุขภาวะที่ดีส่งเสริมสุขภาพที่ดีด้วย
-  สารปนเปื้อนสะสมในการะบวนการผลิตข้าว ตั้งแต่ดิน น้ำ อากาศ การแปรรูปทำให้เกิดการสะสมในร่างกายทำให้เกิดการเจ็บป่วย
-  ฐานะทางเศรษฐกิจและระดับการศึกษาของประชาชนส่งผลกระทบต่อภาวะโภชนาการและสุขภาพ
-  คำเชื่อว่าข้าวเป็นอาหารหลัก ให้พลังงานสูง
-    การผลิตเน้นความต้องการทางการตลาด
-    ความต้องการอาหารในปริมาณมาก
-    ปัจจัยและพฤติกรรมในการเลือกบริโภค สะดวก สบาย
-    ปัญหาการทางธุรกิจ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องการผลิต การบริโภค
-    การผลิตและการแข่งขันทางการค้าการให้บริการที่ทั่วถึง มีการกระจายสินค้า และโฆษณา
-    การแปรรูป การสร้างรายได้ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้สินค้า
-    การจัดการการประกอบการ บัญชี รายรับ รายจ่าย ต้นทุน กำไร และขาดทุน
-     สารพิษจากห่วงโซ่อาหาร มีการปนเปื้อน และมีมลพิษจากอากาศ ดิน หรือน้ำแล้วเก็บสะสมไว้ 
-     มีกระบวนการผลิตที่ทำลายสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศน์ เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศจึงมีผลกระทบต่อผลผลิตที่ต่ำลง
-     ความเชื่อเดิมว่าหญ้าเป็นศัตรูพืช ทำให้ใช้ยาฆ่าหญ้า ซึ่งเป็นการทำลายระบบนิเวศน์ในนาข้าว
-     การเผาทำลายหน้าดิน การกำจัดศัตรูพืช หรือการปลูกข้าวซ้ำๆ ในพื้นที่เดิม ขาดการปลูกพืชหมุนเวียนทำให้ดินเสื่อมโทรม

-     ซื่อสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียร อดทน ใฝ่หาความรู้ ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ ยอมรับผลที่เกิดจากการกระทำของตนเอง
-     เคารพ และอยู่ร่วมกันในสังคมแห่งความหลากหลาย
-     การจัดการความขัดแย้งและสร้างสันติวิธี
-     มารยาทไทย (การแสดงความเคารพ การสนทนา การแต่งกา การมีสัมมาคารวะ)
-     ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละและรับผิดชอบต่อสังคม
-     ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย


ตารางความสัมพันธ์ Core Subject
หน่วย : “ปลูกข้าว 2 เมล็ดโดยใช้น้ำ 8 ลิตร”
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2/2559

สุขภาพ
เศรษฐศาสตร์และการประกอบการ
สิ่งแวดล้อม
หน้าที่พลเมือง
-  ข้าวไม่ปลอดภัย มีสารปนเปื้อนสะสมในการะบวนการผลิต ตั้งแต่ดิน น้ำ อากาศ ทำให้เกิดการเจ็บป่วย
-  ผู้บริโภคขาดการตระหนักถึงผลกระทบในระยะยาวต่อการเลือกบริโภค      
-  นอกจากอาหารร่างกายเราต้องการการออกกำลังกายเพื่อเป็นการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง
-  ฐานะทางเศรษฐกิจและระดับการศึกษาของประชาชนส่งผลกระทบต่อภาวะโภชนาการและสุขภาพ
-   การผลิตเน้นความต้องการทางการตลาด
-   ความต้องการอาหารในปริมาณมาก
-   ปัจจัยและพฤติกรรมในการเลือกบริโภค สะดวก สบาย
-   ปัญหาการทางธุรกิจ และกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องการผลิต การบริโภค    
-   การผลิตและการแข่งขันทางการค้า
-   การให้บริการที่ทั่วถึง มีการกระจายสินค้า และโฆษณา
-    ความเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆ อาหารที่ปนเปื้อนแล้วยังอาจได้รับสารพิษทางห่วงโซ่อาหาร จากการที่พืชได้รับมลพิษจากอากาศ ดิน หรือน้ำแล้วเก็บสะสมไว้ 
-    มีกระบวนการผลิตที่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำลายระบบนิเวศน์ของพื้นที่นั้น เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ จึงมีผลกระทบต่อผลผลิตที่ต่ำลง
-    การเผาทำลายหน้าดิน หรือการปลูกข้าวซ้ำๆ ในพื้นที่เดิม ขาดการหมุนเวียนพืชทำให้เกิดสภาพดินเสื่อมโทรม
-     ซื่อสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียร อดทน ใฝ่หาความรู้ ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ ยอมรับผลที่เกิดจากการกระทำของตนเอง
-     เคารพ และอยู่ร่วมกันในสังคมแห่งความหลากหลาย
-     การจัดการความขัดแย้งและสร้างสันติวิธี
-     มารยาทไทย (การแสดงความเคารพ การสนทนา การแต่งกา การมีสัมมาคารวะ)
-     ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละต่อสังคม
-     ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย



Week
Input
Possess
Output
Outcome
12 -14




















โจทย์ : ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตั้งท้องของข้าว

Key  Question :
เราจะมีวิธีดูแลข้าวที่กำลังตั้งท้องได้อย่างไรบ้าง และมีวิธีสังเกตอย่างไร

เครื่องมือคิด :
- Black board share 
- Show and Share 
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้:
- คอมพิวเตอร์/อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศชั้นเรียน
- ท่อสำหรับปลูกข้าว /แปลงนา
- ครูให้นักเรียนดูภาพ
- นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตั้งท้องของข้าว วิธีการดูแลข้าวที่กำลังตั้งท้อง
- นักเรียนสังเกตข้าวในท่อของตนเอง และในแปลงนาของพี่ๆม.1
 - นักเรียนนำเสนอความคืบหน้าของข้าวที่ตนเองรับผิดชอบดูแล พร้อมทั้งอธิบายวิธีการดูแล การแก้ปัญหา สิ่งที่ได้เรียนรู้

ภาระงาน :
-  บันทึกขั้นตอนการทำงานทุกขั้น พร้อมผลที่เกิดขึ้น
-  สนทนาพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นและอาจจะเกิดขึ้น พร้อมวิธีการแก้ไข
ค้นหาและนำเสนอปัจจัยที่ส่งผลต่อการปัจจัยที่ส่งผลต่อการตั้งท้องของข้าว และการเจริญเติบโตของข้าว ปัญหาที่จะเกิด และอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องทำเพิ่มเติม นำความรู้ที่ได้ปรับใช้กับการปลูกข้าวของตนเอง

ชิ้นงาน :
-   สมุดเล่มเล็กบันทึกผล
-   สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์
ความรู้
-   เข้าใจและสามารถอธิบายปัจจัยที่ส่งผลต่อการตั้งท้องของข้าวได้
-   สามารถนำความรู้ที่มีแก้ปัญหา และประยุกต์ใช้ได้จริงกับการปลูกข้าวในแต่ละสัปดาห์อย่างเหมาะสมและน่าสนใจ

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คุณลักษณะ:
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- กระตือรือร้นในการทำงาน  และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง
- ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย
15 -17
โจทย์ : การแปรรูปข้าว
- การแปรรูป (ข้าวเหม่า ข้าวตอก  ข้าวต้มมัด แป้งข้าวจ้าว)
Key  Question :
- เราสามารถนำข้าวไปแปรรูปอะไรได้บ้าง

เครื่องมือคิด :
- Black board share 
- Show and Share 
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้:
- คอมพิวเตอร์/อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศชั้นเรียน
- ท่อสำหรับปลูกข้าว
- นักเรียนศึกษาการแปรรูปข้าว (ข้าวเหม่า ข้าวตอก  ข้าวต้มมัด แป้งข้าวจ้าว)
- ผู้ปกครองร่วมสร้างการเรียนรู้เกี่ยวกับการแปรรูปข้าว ข้าว (ข้าวเหม่า ข้าวตอก  ข้าวต้มมัด แป้งข้าวจ้าว)
- ผู้ปกครองและนักเรียนเตรียมอุปกรณ์ในการทำ ข้าวต้มมัด  ข้าวกระยาสารท และแบ่งปันชั้นอื่น
 - นักเรียนนำเสนอความคืบหน้าของข้าวที่ตนเองรับผิดชอบดูแล พร้อมทั้งอธิบายวิธีการดูแล การแก้ปัญหา สิ่งที่ได้เรียนรู้


ภาระงาน :
- การแปรรูปข้าวเช่น ข้าวตอก  ข้าวต้มมัด
สรุปและบันทึกขั้นตอนการทำงานทุกขั้น พร้อมผลที่เกิดขึ้น
สนทนาพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นและอาจจะเกิดขึ้น พร้อมวิธีการแก้ไข

ชิ้นงาน :
ข้าวต้มมัด ข้าวกระยาสารท
สมุดเล่มเล็กบันทึกผล
สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและสามารถแปรรูปข้าวในรูปแบบต่างๆเช่น ข้าวต้มมัด ข้าวกระยาสารท และสามารถเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมในท้องถิ่น นำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้ 

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คุณลักษณะ:
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- กระตือรือร้นในการทำงาน  และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง
- ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย




18 - 19
โจทย์ : ประเพณีที่เกี่ยวกับข้าว

Key  Questions :
ข้าวเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนอีสานอย่างไรบ้าง
เราจะถ่ายทอดเรื่องราวของข้าวที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Black board share 
- Show and Share 
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้:
- คอมพิวเตอร์/อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศชั้นเรียน
- ท่อสำหรับปลูกข้าว
- นักเรียนนำเสนอความคืบหน้าของข้าวที่ตนเองรับผิดชอบดูแล พร้อมทั้งอธิบายวิธีการดูแล การแก้ปัญหา สิ่งที่ได้เรียนรู้
- ศึกษาประเพณีที่เกี่ยวกับข้าวพร้อมทั้งถ่ายทอดเรื่องราวของข้าวที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิต
- นักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยน
ภาระงาน :
- บันทึกขั้นตอนการทำงานทุกขั้น พร้อมผลที่เกิดขึ้น
- สนทนาพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นและอาจจะเกิดขึ้น พร้อมวิธีการแก้ไข
ศึกษาประเพณีที่เกี่ยวกับข้าวพร้อมทั้งถ่ายทอดเรื่องราวของข้าวที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตและอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องทำเพิ่มเติม นำความรู้ที่ได้ปรับใช้กับการปลูกข้าวของตนเอง

ชิ้นงาน :
- สมุดเล่มเล็กบันทึกผล
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายปัจจัยที่ส่งผลต่อการตั้งท้องของข้าวได้
สามารถนำความรู้ที่มีแก้ปัญหา และประยุกต์ใช้ได้จริงกับการปลูกข้าวในแต่ละสัปดาห์อย่างเหมาะสมและน่าสนใจ

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คุณลักษณะ:
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- กระตือรือร้นในการทำงาน  และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง
- ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย



20


โจทย์ : สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

Key  Question :
นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการปลูกข้าวที่ผ่านมา และจะนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?   
เครื่องมือคิด :
- Black board share 
- Show and Share 
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- คอมพิวเตอร์/อินเทอร์เน็ต
- พื้นที่ปลูกข้าว
- นักเรียนอภิปรายเกี่ยวกับการสอนการปลูกข้าวที่ผ่านมา
- นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการปลูกข้าว
- นักเรียนออกแบบและวางแผนการดูแลข้าวในช่วงปิดเรียน
- นักเรียนดูแลต้นข้าวพร้อมบันทึกผลที่เกิดขึ้น
ภาระงาน :
- บันทึกความเปลี่ยนแปลงของข้าวในท่อที่ปลูก
- สนทนาพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นและอาจจะเกิดขึ้น พร้อมวิธีการแก้ไข
ออกแบบดูแลข้าวในช่วงปิดเรียน

ชิ้นงาน :
- สมุดเล่มเล็กบันทึกผล
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และการนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
ความรู้
สามารถออกแบบวางแผนกระบวนการเรียนรู้ ได้อย่างเหมาะสมและน่าสนใจ

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คุณลักษณะ:
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- กระตือรือร้นในการทำงาน  และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง
- ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย