Week5

เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืช อีกทั้งสามารถนำความรู้ที่มีแก้ปัญหา และประยุกต์ใช้ได้จริงกับการปลูกข้าวในแต่ละสัปดาห์อย่างเหมาะสมและน่าสนใจ


Week
Input
Possess
Output
Outcome
5
13-17 มิ.ย.
2559
โจทย์ :
ปัจจัยที่มีต่อการเจริญเติบโตของพืช

Key Question :
นักเรียนจะออกแบบการเรียนรู้ปัจจัยที่สิ่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชได้อย่างไรบ้าง?
เครื่องมือคิด :
- Black board share สรุปปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช
- Show and Share นำเสนอการการทดลองการเจริญเติบโตของพืช
ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้:
- คอมพิวเตอร์/อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศชั้นเรียน
- ท่อสำหรับปลูกข้าว
- อุปกรณ์การทดลองและเมล็ดพันธุ์
Flip Class room
-      นักเรียนนำเสนองานออกแบบปัจจัยการเจริญเติบโตของพืช พร้อมสนทนาแลกเปลี่ยนร่วมกัน
-       สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์จากการทดลองของตนเองและเพื่อนกลุ่มอื่นๆ

วันพุธ (1 ชั่วโมง)
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะออกแบบการทดลองได้อย่างไรบ้าง?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในการออกแบบการทดลอง
ใช้ : นักเรียนออกแบบการทดลองของตนเองพร้อมลงมือทดลอง
ภาระงาน :
-   บันทึกขั้นตอนการทำงานทุกขั้น พร้อมผลที่เกิดขึ้น
-   สนทนาพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นและอาจจะเกิดขึ้น พร้อมวิธีการแก้ไข
ค้นหาออกแบบและนำเสนอปัจจัยที่ส่งผลต่อการงอก พร้อมทดลอง และอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องทำเพิ่มเติม นำความรู้ที่ได้ปรับใช้กับการดูแลต้นข้าวของตนเอง
- ดูแลแปลงนาสาธิตร่วมกัน

ชิ้นงาน :
-    ชาร์ตสรุปปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด
-    สมุดเล่มเล็กบันทึกผล
-    สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์
ความรู้
-   เข้าใจและสามารถอธิบายปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชหรือต้นข้าว
-   สามารถนำความรู้ที่มีแก้ปัญหา และประยุกต์ใช้ได้จริงกับการปลูกข้าวในแต่ละสัปดาห์อย่างเหมาะสมและน่าสนใจ

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทดลองปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชได้
ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทดลองได้
ใช้อุปกรณ์ได้เหมาะสม และแก้ปัญหาที่หลากหลาย
- นำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในดูแลข้าวได้จริง      
ทักษะการสื่อสาร
สามารถนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจผ่าน กิจกรรมที่หลากหลายในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทักษะการจัดการข้อมูล
มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น ถามผู้รู้ ห้องสมุด หรืออินเทอร์เน็ต
- สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
 มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มอื่นได้
คุณลักษณะ:
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- กระตือรือร้นในการทำงาน  และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง
- ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย


ตัวอย่างกิจกรรม

 ในสัปดาห์ที่4 พี่ๆ ออกแบบกิจกรรมการทดลองไว้แต่ยังไม่ได้ทดลองจริงจึงมาเริ่มทำการทดลองจริงใน
สัปดาห์ที่ 5


ตัวอย่างการออกแบบกิจกรรมและการทดลอง


 

ตัวอย่างการออกแบบกิจกรรมและการทดลอง



 

ต้นข้าวของพี่ๆ ในสัปดาห์นี้โตขึ้นเรื่อยๆ บางคนแตกกอแล้ว

พี่แบ่งนำจอกแหนมาใส่และจะเลี้ยงปลาด้วย



ตัวอย่างชิ้นงาน






 



1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์ที่ 4 พี่ๆ ออกแบบกิจกรรมการทดลองไว้แต่ยังไม่ได้ทดลองจริงจึงมาเริ่มทำการทดลองจริงในสัปดาห์ที่ 5 โดยใช้ตัวแปรในการทำที่ต่างกัน เช่น แสง น้ำ การแกะเปลือกของเมล็ดและเมล็ดมีเปลือกหุ้ม จากนั้นทุกคนบันทึกพร้อมตั้งสมมุติฐานในการงอกของเมล็ดของตนเพื่อนำไปปรับใช้กับต้นข้าวของตนเอง และจากการงอกของเมล็ดคุณครูฝากพี่ๆ คิดต่อเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของต้นพืชจะอาศัยปัจจัยใดบ้าง
    ต้นข้าวของพี่ๆ ในสัปดาห์นี้เริ่มแตกกอมาขึ้น โดยสัปดาห์นี้สังเกตเห็นว่าต้นข้าวของพี่ๆ ผู้ชายจะโตกว่าพี่ผู้หญิง ครูจะฝากตั้งคำถามกับพี่ผู้หญิงว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ซึ่งพี่แฟ้มบอกว่า ครูค่ะพี่ผู้ชายปลูกก่อนและของพี่ผู้หญิงบางคนปลูกใหม่ เพราะต้นเดิมตาย บางคนก็ไม่เกิด

    ตอบลบ